Power Supply

    Power Supply

จัดทำโดย เอกมนตรี กระดุมผล
 
      แหล่งจ่ายไฟสำหรับคอมพิวเตอร์ หรือ พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply) เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญอย่างมากต่ออุปกรณ์เกือบทุกตัวในระบบคอมพิวเตอร์ ซัพพลายของคอมพิวเตอร์นั้นมีลักษณะการทำงาน คือทำหน้าที่แปลงกระแสไฟฟ้าจาก 220 โวลต์ เป็น 3.3 โวลต์, 5 โวลต์ และ 12 โวลต์ ตามแต่ความต้องการของอุปกรณ์นั้นๆ โดยชนิดของพาวเวอร์ซัพพลาย ในคอมพิวเตอร์จะแบ่งได้เป็น 2 ชนิดตามเคส คือแบบ AT และแบบ ATX

ขั่วต่อ Power Supply

     พาวเวอร์ซัพพลาย ทั้งแบบ AT และ ATX นั้นมีลักษณะการทำงานที่เหมือนกัน คือรับแรงดันไฟจาก 220-240 โวลต์ โดยผ่านการควบคุมด้วยสวิตช์ สำหรับ AT และเมนบอร์ด แล้วส่งแรงดันไฟส่วนหนึ่งกลับไปที่ช่อง AC output เพื่อเลี้ยงตัวมอนิเตอร์ และจะส่งแรงดันไฟ 220 โวลต์ อีกส่วนหนึ่งเข้าสู่หน่วยการทำงานที่ทำหน้าที่แปลงแรงดันไฟสลับ 220 โวลต์ ให้เป็นไฟกระแสตรง 300 โวลต์ โดยไม่ผ่านหม้อแปลงไฟ
ระบบนี้เรียกว่า (Switching พาวเวอร์ซัพพลาย ) และผ่านหม้อแปลงที่ทำหน้าที่แปลงไฟตรงสูงให้เป็นไฟตรงต่ำ โดยจะฝ่านชุดอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่กำหนดแรงดันไฟฟ้าอีกชุดหนึ่งแบ่งให้เป็น 5 และ 12 ก่อนที่จะส่งไปยังสายไฟและตัวจ่ายต่างๆ โดยความสามารถพิเศษของ Switching พาวเวอร์ซัพพลาย ก็คือ มีชุด Switching ที่จะทำการตัดไฟเลี้ยงออกทันทีเมื่อมีอุปกรณ์ที่โหลดไฟตัวใดตัวหนึ่งชำรุดเสียหายหรือช็อตนั่นเองค่ะ

การติดตั้ง

- เลือกเคสที่กว้างเข้าไว้  หรือจะเป็นเคสที่มีการติดตั้งเพาเวอร์ซัพพลายอยู่ด้านล่างของเคส  ซึ่งจะปลอดภัยมากครับ  เหตุเพราะหากเป็นเคสที่มีความกว้างแล้ว  ก็จะมีช่องทางมากพอที่จะให้เราเลื่อน เคลื่อนไหว  หรือขยับเพาเวอร์ซัพพลายและมือของเราได้ง่าย  ไม่ต้องขยับมากก็ได้ที่  ปัจจุบันเคสแบบ  Medium Tower  พื้นที่ดังกล่าวจะไม่ถูกปิดกั้นด้วยอุปกรณ์ใดๆ  ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่โล่ง จะมีก็แต่เพียงสายสัญญาณเท่านั้นเอง  เมื่อจัดเก็บเข้าที่ดีๆ ก็แทบจะทำให้เราไม่ต้องกังวลเลยว่า  เพาเวอร์ซัพพลายตัวโปรดของเราจะเป็นรอยอีกด้วย

  - ถ้าเลือกเคสที่กว้างไม่ได้จริงๆ หรือเป็นเคสเดิมที่ใช้อยู่แล้ว  ก็ให้เซฟด้วยการติดกระดาษกาวที่มุมและขอบต่างๆ  ของเพาเวอร์ซัพพลายและติดที่ส่วนต่างๆ ขอบที่อยู่ภายในเคสด้วย  ซึ่งไม่ต้องกังวลเลยว่าจะมีคราบของกาวเหนียวๆ  ติดที่เคส หรือติดที่เพาเวอร์ซัพพลายตัวโปรดของคุณ  เพราะหากเลือกกระดาษกาวดี  อาจจะใช้กระดาษกาวแบบ  Nitto  ที่ใช้ในงานศิลป์ก็ได้  โดยติดตามขอบและมุมต่างๆ ทั้งตัวของเพาเวอร์ซัพพลายเอง และภายในของเคสที่คาดว่าใกล้จุดที่ติดตั้งเพาเวอร์ซัพพลาย  หรือใช้เทพใสคุณภาพดีหน่อย  ติดที่ขอบมุมเพื่อป้องกันการกระแทกด้วยก็ได้เช่นกัน  เมื่อติดตั้งเพาเวอร์ซัพพลายเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ให้แกะออกครับ

  - ดูตามความเหมาะสมของเคส  ซึ่งบางรุ่นควรที่จะติดตั้งเพาเวอร์ซัพพลายเข้าไปก่อน แล้วค่อยติดตั้งอุปกรณ์ชิ้นอื่นตามทีหลัง  เพราะบางครั้งเคสที่มีขนาดเล็ก  การที่จะจับเพาเวอร์ซัพพลายเข้าไปหลังสุดนั้น คงไม่ดีแน่ๆ  เพราะนอกจากจะติดทั้งอุปกรณ์และสายที่จัดไว้ ทำให้ไม่สะดวกในการติดตั้งแน่นอน  แต่บางรุ่นการติดตั้งเพาเวอร์ซัพพลายทีหลังสุดก็จะปลอดภัยกว่า  เช่นเคสที่มีพื้นที่ติดตั้งเหลือพอ  รวมไปถึงเพาเวอร์ซัพพลายที่สามารถถอดสายได้  การติดตั้งทีหลังจะช่วยให้การจัดเก็บสายภายในเคสทำได้ง่ายยิ่งขึ้น  ไม่จำเป็นต้องต่อใช้ทุกเส้น ต่อเฉพาะเส้นที่ใช้เท่านั้น


  - ถ้ามีอุปกรณ์ใดที่จะช่วยให้การติดตั้งเพาเวอร์ซัพพลายนั้นง่ายขึ้น  ก็ควรที่จะประกอบเข้าไปด้วย  เช่น ขอบยางกันรอย  ซึ่งมักจะมีมาให้พร้อมกับเพาเวอร์ซัพพลายราคาสูงส่วนใหญ่  ถ้าไมอยากให้เกิดริ้วรอยแต่เพาเวอร์ซัพพลาย ก็ควรจะติดตั้งลงไปก่อน

การคำนวณ

http://www.enermax.outervision.com/index.jsp เป็นเว็ปคำนวณโดยการใส่ สเป็คคอมพิวเตอร์ที่ต้อง และเป็นเว็ปที่น่าเชื่อถือและแม่นยำ

 

 

 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

MOUSE

บาร์โค้ด

เครื่องบันทึกเงินสด